WELCOM TO MY'BLOG

วันเสาร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2552

แผนการสอน

แผนการสอนที่ 1วิชา ช 0248 (การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น) ชั้น ม.ต้น จำนวน 1 คาบ
เรื่อง 1.1 ความหมายของคอมพิวเตอร์และประมวลผลข้อมูล
สาระสำคัญ
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานที่มีความสลับซับซ้อนหรือมีปริมาณมากเสร็จลงได้อย่างถูกต้องในระยะเวลาอันรวดเร็ว
การประมวลผลข้อมูล หมายถึง การจัดการกับข้อมูล ซึ่งได้แก่ ข้อเท็จจริงต่างๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สามารถนำไปใช้ต่อไป ผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูลคือสารสนเทศ (Information)
ระบบการประมวลผลข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และบุคลากร
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
1.บอกความหมายของคอมพิวเตอร์และประมวลผลข้อมูลได้
2.บอกองค์ประกอบของการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้
จุดประสงค์นำทาง
1.บอกความสำคัญและลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้
2.บอกความสำคัญของการประมวลผลข้อมูลได้
3.บอกหน้าที่หลักและส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
เนื้อหา
ความหมายของคอมพิวเตอร์
การประมวลผลข้อมูล
3.องค์ประกอบของการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์3.1ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
3.2ซอฟต์แวร์ (Software)
3.3บุคลากร (Peopleware)
กิจกรรมการเรียนการสอน
1.ครูชี้แจงจุดประสงค์รายวิชาและวิธีการสอน
2.ครูนำเข้าสู่บทเรียน โดยการบรรยายถึงประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
3.ให้นักเรียนช่วยกันคิดความหมายของคอมพิวเตอร์ โดยครูเรียกตอบสัก 2-3 คน
4.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปความหมายของคอมพิวเตอร์
5.ครูอธิบายการประมวลผลข้อมูล พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
6.ให้นักเรียนลองยกตัวอย่างสารสนเทศ (Information) ตามความเข้าใจและตามความรู้ที่เรียนมา
7.ครูอธิบายถึงองค์ประกอบของการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ พร้อมยกตัวอย่าง
8.ให้นักเรียนทำกิจกรรมที่ 1.1 โดยกรอกลงในใบงาน
สื่อการเรียนการสอน
1.แผ่นใสเกี่ยวกับเนื้อหาที่สอน
2.ใบงานกิจกรรมที่ 1.1
การวัดผลประเมินผล
วิธีการ
1.สังเกตจากการตอบคำถามของนักเรียน
2.ตรวจผลงานที่นักเรียนตอบคำถามท้ายบท
เครื่องมือ
ใบงานกิจกรรมที่ 1.1
เกณฑ์การประเมิน
1.นักเรียนทำกิจกรรมที่ 1.1 ผ่าน 60%
2.นักเรียนสามารถตอบคำถามของครูได้อย่างน้อย 80%
กิจกรรมเสนอแนะ
-------------------------------------------------
-------------------------------------------------
-------------------------------------------------
แผนการสอนที่ 2วิชา ช 0248 (การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น) ชั้น ม.ต้น จำนวน 2 คาบ
เรื่อง 1.2 องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
สาระสำคัญ
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ คือ
1. หน่วยรับเข้า 2. หน่วยประมวลผล 3. หน่วยส่งออก
4.หน่วยความจำ
1)หน่วยรับเข้า ทำหน้าที่รับสิ่งเข้าจากภายนอกหรือจากผู้ใช้เข้าไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์เพื่อรอการประมวลผล
2)หน่วยประมวลผล ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล และควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ ของคอมพิวเตอร์
3)หน่วยส่งออก ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลในรูปที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้
4)หน่วยความจำ แบ่งออกเป็น หน่วยความจำหลักและหน่วยความจำรอง
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
1.บอกองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
2.บอกหน้าที่ของหน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผล หน่วยส่งออก และหน่วยความจำได้
จุดประสงค์นำทาง
1.บอกลักษณะการทำงานของคอมพิวเตอร์ได้
2.บอกความสำคัญขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
เนื้อหา
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
1.1 หน่วยรับเข้า (Input Unit)
1.2 หน่วยประมวลผล (processer Unit)
1.3 หน่วยส่งออก (Output Unit)
1.4 หน่วยความจำ (memory Unit)
กิจกรรมการเรียนการสอน
1.ครูนำเข้าสู่บทเรียน โดยการตั้งคำถามให้นักเรียนช่วยกันตอบ
2.ครูอธิบายองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
3.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
4.ให้นักเรียนทำกิจกรรม 1.2 โดยการกรอกลงในใบงาน
สื่อการเรียนการสอน
1.แผ่นใสแสดงองค์ประกอบทางฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์
2.แผ่นใสแสดงส่วนประกอบของหน่วยประมวลผลกลาง
การวัดผลประเมินผล
วิธีการ
1.สังเกตจากการตอบคำถามของนักเรียน
2.ตรวจผลงานที่นักเรียนตอบกิจกรรมที่ 1.2
เครื่องมือ
ใบงานกิจกรรมที่ 1.2
เกณฑ์การประเมิน
นักเรียนทำกิจกรรมที่ 1.2 ผ่านอย่างน้อยร้อยละ 60
กิจกรรมเสนอแนะ
------------------------------------------
------------------------------------------
------------------------------------------

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

แบบฝึกหัดครั้งที่5

นายประพันธ์ จำเล
รหัส 514110016
สังคมศึกษา

1.มัลติมีเดียมีความสำคัญอย่างไรกับการเรียนการสอน?
-มัลติมีเดีย มีการใช้สื่อมากกว่า 1 สื่อร่วมกันนำเสนอข้อมูลข่าวสาร โดยมีจุดมุ่งหมายให้ ผู้รับสื่อสามารถรับรู้ข่าวสารได้มากกว่า 1 ช่องทาง โดยผ่านการควบคุมการใช้ และโต้ตอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครือข่าย ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบของมัลติมีเดียให้สอดคล้องกับปรัชญาการ เรียนรู้มากขึ้น สื่อประเภทนี้ไม่ได้เป็นเพียงรูปแบบของบทเรียนแบบโปรแกรม ที่ให้เพียงเนื้อหา คำถาม และคำตอบ แต่ได้รับการออกแบบให้เปิดกว้างสำหรับ การสำรวจกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดค้น สืบค้นมากขึ้น

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เรื่องการสือสาร

นายประพันธื จำเล
รหัส514110016
โปรแกรมสังคมสึกษา
1. สื่อการสอนมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนอย่างไร
ตัวกลางที่จะช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้ จากครูผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เป็นสิ่งช่วยอธิบาย และขยายเนื้อหาบทเรียน ให้ผู้เรีย สามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ตั้งไว้
2. สื่อการสอนสามารถจำแนกได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
1./ อุปกรณ์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทำให้ข้อมูลความรู้ที่บันทึกไว้ในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยินได้ เช่น เครื่องฉายภาพโปร่งใส เครื่องเล่นเทป เป็นต้น
2. วัสดุ (Software) หมายถึง สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเองจำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ
2.1วัสดุที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์
อื่นช่วย เช่น แผนที่ ลูกโลก หุ่นจำลอง เป็นต้น
2.1วัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย
เช่น แผ่นเสียง สไลด์ เป็นต้น
3./ เทคนิคและวิธีการ (Technique and Method) หมายถึง สื่อที่มีลักษณะเน้นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอนเป็นสำคัญ อาจนำเอาวัสดุหรืออุปกรณ์มาช่วยในการสอนด้วยก็ได้
3. เอดการ์ เดล ใช้อะไร ? เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของสื่อการสอน
1 / การกระทำจริงกับสภาพที่เป็นจริงด้วยจุดมุ่งหมายของผู้กระทำ
2 / ประสบการณ์จำลอง สิ่งพวกนี้ได้แก่ สถานะการณ์จำลอง หุ่นจำลอง ภาพอันตรทัศน์
3 / ประสบการณ์นาฎการ เช่น ละคร การแสดงในรูปแบบต่าง ๆ
4 / การสาธิต เป็นการแสดงการกระทำด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนดูหรือสังเกต
5 / การทัศนศึกษานอกสถานศึกษา
6 / นิทรรศการ เป็นการดูของจริงที่นำมาจัดแสดงเอาไว้
7 / โทรทัศน์ ดูจากรายการโทรทัศน์
8/ ภาพยนตร์ เป็นภาพยนตร์การสอน ภาพยนตร์มีความเป็นรูปธรรมน้อยกว่าโทรทัศน์
ตรงความรู้สึกของผู้รับประสบการณ์ ผู้ชมภาพยนตร์เกิดความรู้สึกว่าภาพยนตร์มีความใหม่ ความสดน้อยกว่าโทรทัศน์
9 / พวกภาพนิ่งและเสียงทั้งหลาย พวกนี้ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งแสง ภาพทึบ
แสง เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง รายการวิทยุ เป็นต้น
10 / ทัศนสัญลักษณ์ อาทิเช่น แผนภูมิ แผนสถิติ แผนที่ ไดอาแกรม การ์ตูน ภาพล้อ และ
สัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
11 / วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ ข้อความที่เป็นสิ่งขีดเขียนหรือคำพูดจากปากคนพูด

4. ให้บอกคุณค่าทั่วไปของสื่อการสอนมา 5 อย่าง
1/ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การเลือกให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์นั้นผู้สอนจะต้อง พิจารณาว่าวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ต้องการให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมอย่างไร
2/ ตรงกับเนื้อหา การเลือกให้ตรงเนื้อหาให้พิจารณาที่ตัวสื่อว่าให้ข้อมูลด้านใด ให้เนื้อหาสาระตรงตามเนื้อหาที่สอนหรือไม่
3 /น่าสนใจ การเลือกสื่อที่น่าสนใจให้พิจารณาด้านขนาด รูปทรง สีสันขนาดตัวอักษร ความปราณีต ความสวยงาม และมีศิลปะความน่าดู น่าใช้ สิ่งเหล่านี้จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ช่วยสร้างศรัทธาให้เกิดกับผู้เรียน
4 / เหมาะกับวัยผู้เรียน ควรเลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับวัยผู้เรียนก็เนื่องจากผู้เรียนแต่ละวัยย่อมมีความสนใจที่แตกต่างกันในเรื่องระยะเวลาที่สนใจ และเรื่องที่สนใจ เช่น เด็กสนใจการ์ตูนมากกว่าภาพถ่าย
5 /สะดวกต่อการใช้และการเก็บรักษา ผู้สอนจะต้องเลือกสื่อโดยมีขั้นตอนการใช้ไม่ยุ่งยาก สะดวกต่อการฝึกใช้ เมื่อใช้แล้วให้ผลคุ้มค่า ปลอดภัย ไม่เกิดอันตราย สื่อนั้นนำมาใช้ในสภาพห้องเรียนที่มีอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก


5. ขั้นตอนในการใช้สื่ออย่างเป็นระบบมีอะไรบ้าง
1 ขั้นวางแผนภารกิจ(Planing of Media Utilization)
2 ขั้นเลือกสื่อการสอน(Selection of Media)
3 ขั้นเตรียมการใช้(Preparation of Media Utilization)
4 ขั้นการใช้สื่อ(Presentation of Media)
5 ขั้นการประเมินผลการใช้สื่อ(Evaluation of Media Utilization)
6. ท่านมีวิธีการเลือกสื่อมาใช้กับการเรียนการสอนอย่างไร
การใช้สื่อ (Utilize Materials)
1.ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อเหล่านี้ก่อนเป็นการเตรียมตัว
2 จัดเตรียมสถานที่
3 เตรียมตัวผู้เรียน
4 ควบคุมชั้นเรียน
7. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
1. เลือกสื่อและวิธีการให้ถูกต้องวัตถุประสงค์
2.ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ถ้าไม่มีการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ก่อน

3. ผู้เรียนทราบว่าเมื่อเรียนบทเรียนนั้นแล้วจะสามารถเรียนรู้หรื
8. ท่านคิดว่าสื่อการสอนเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนอย่างไร
สื่อการสอน เป็นตัวกลางที่จะช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้ จากครูผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เป็นสิ่งช่วยอธิบาย และขยายเนื้อหาบทเรียน ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ตั้งไว้
9. การได้ทราบประเภท และคุณสมบัติของสื่อ ช่วยท่านในการเลือกผลิตและใช้สื่ออย่างไร
สอน ผู้สอนจะต้องเข้าใจเนื้อหาเป็นอย่างดี เข้าใจสภาพผู้เรียนและกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมไว้อย่างชัดเจน
10ปัจจุบันสื่ออิเลคทรอนิคส์เข้ามามีบทบาทกับการศึกษาทุกระดับ ท่านมีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร
การรียนการสอน ช่วยแก้ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคล ฯลฯ สำหรับประโยชน์กับผู้สอน จะช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้สอน โดยบางครั้งอาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาเองจากสื่อได้ ในการใช้สื่อการสอน หากผู้สอนได้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบก็จะช่วยให้การใช้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

1.ระบบ (System) หมายถึง การรวมกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้วิธีระบบ (System Approach) การตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กันในการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน

2.ระบบโดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบดังนี้1.สิ่งนำเข้า (Input) ได้แก่ การกำหนดปัญหา จุดมุ่งหมายทรัพยากรที่ใช้ 2.กระบวนการ (Process) ได้แก่การลงมือแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล การนำวัตถุดิบมาใช้ มาจัดกระทำอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย 3. ผลผลิต (Output) คือผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือสรุปการวิเคราะห์เพื่อประเมินต่อไป 4. ผลย้อนกลับ (Feedback) คือการตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไป

3.เป็นการนำเอารูปแบบของระบบมาใช้ในการจัดทำโครงร่าง และกรอบของการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเรียนการสอน เป็นไปอย่างมีขั้นตอนที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำให้ผลที่ได้เกิดประสิทธิผลตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการตามแผนภาพที่แสดงให้เห็น การกำหนดระบบการสอน

4.เป็นวิธีระบบรูปแบบหนึ่งที่นำมาจากแนวคิดของไชน์พิชและคณะ (1993) โดยมีระบบการดำเนินงานตามลำดับขั้นดังนี้A = ANALYZE LEARNER'S CHARACTERISTICS การวิเคราะห์ผู้เรียน ที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้น และความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้าน 1. ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา เจตคติ ระบบสังคม วัฒนธรรม 2. ข้อมูลเฉพาะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน เช่น ประสบการณ์เดิม ทักษะ เจตคติ ความรู้พื้นฐาน และความสามารถในบทเรียนนั้นเพียงใด S = STATE LEARNING OBJECTIVES AND CONTENT การกำหนดจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายการเรียนที่ดี S = SELECT, MODIFY OR DESIGN MOTHODS AND MATERIALS การกำหนดสื่อการเรียนการสอน อาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการดังนี้ คือ 1) การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน 2) ดัดแปลงจากสื่อวัสดุที่มีอยู่แล้ว 3) การออกแบบสื่อใหม่U = UTILIZE METHODS AND MATERIALS กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน พิจารณาได้ 3 ลักษณะคือ 1) การใช้สื่อประกอบการสอนของผู้สอน เช่น ประกอบคำบรรยาย และอธิบาย 2) การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง 3) การใช้สื่อร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จำลอง และการสาธิต การมีส่วนร่วมของผู้เรียน R = REQUIRE LEARNER'S RESPONSE การกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของผู้เรียน การเรียนรู้จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดนั้น ผู้เรียนจะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนองและมีการเสริมแรง สำหรับการพฤติกรรมการตอบสนองที่ถูกต้องอยู่เสมอE = EVALUATION การประเมินผล ควรพิจารณาทั้ง 3 ด้านคือ 1) การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) การประเมินสื่อและวิธีใช้ 3) การประเมินกระบวนการเรียนการสอน

5.1) การใช้สื่อประกอบการสอนของผู้สอน เช่น ประกอบคำบรรยาย และอธิบาย 2) การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง 3) การใช้สื่อร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จำลอง และการสาธิต การมีส่วนร่วมของผู้เรียน การใช้สื่อการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมหรือได้ลงมือกระทำร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้มากที่สุด

6.การออกแบบจึงช่วยให้ได้แผนงานหรือรูปแบบการดำเนินงาน ด้วยความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงาน การออกแบบการสอน เป็นการวางแผนการสอนโดยใช้วิธีระบบจุดเริ่ม ของการออกแบบการสอน ก็คือ การพิจารณาองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบและพิจารณาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการเรียนการสอน ดังนั้น การออกแบบระบบการสอนจึงต้องพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ด้วยการตอบคำถามสำคัญ 4 ประการ ดังนี้ 1. โปรแกรมการสอนนี้ จะออกแบบสำหรับใคร (คำตอบก็คือ ผู้เรียน ดังนั้น ขั้นแรกจึงต้องศึกษา คุณลักษณะของผู้เรียน) 2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง (คำตอบก็คือจุดมุ่งหมายการเรียน) 3. เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนนั้นจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร (คำตอบก็คือต้องคิดหาวิธีสอน สื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน ฯลฯ) 4. จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ หรือเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด (คำตอบก็คือ ต้องคิดหาวิธีประเมินผลการเรียนการสอน)

7.ในการเรียนทุกๆครั้งจะต้องกำหนดตัวเองให้ได้ว่า ต้องอ่านหนังสือก่อนมาเรียนทุกครั้ง แล้วเวลาเข้าเรียนก็ต้องตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอน กลับไปบ้านก็ต้องอ่านหนังสือทบทวนอีกรอบ แล้วจะได้ทำข้อสอบได้และเข้าใจในเนื้อหาที่ได้เรียนไปอย่างแท้จริง

วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่1

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่1

1. จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการการศึกษามาอย่างถูกต้อง
ตอบ “เทคโนโลยี”หมายถึง การนำเอากระบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2. จงยกตัวเทคโนโลยีและและนวัตกรรมในสาขาต่างๆ มาอย่างน้อย 5 สาขา
ตอบ 2.1 เทคโนโลยีทางการทหาร(Military Technology)
เทคโนโลยีทางการแพทย์(Medical Technology)
เทคโนโลยีทางการเกษตร(Agricultural Technology)
เทคโนโลยีทางการสื่อสาร(Communication Technology)
เทคโนโลยีทางการค้า(Commercial Technology )

3. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพและทัศนะทางกายพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
ตอบ ทัศนะทางสื่อหรือวิทยาศาสตร์กายภาพ(Media or Physical Science concept) เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรม เป็นสำคัญแต่ไม่รวมวิธีการหรือ ปฏิสัมพันธ์อื่นๆ เพราะเห็นว่า การนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุมาช่วยในกระบวนการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น
ตามทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมกระบวนการศึกษา4 ขั้น คือ
1.การตั้งจุดมุ่งหมายทางการศึกษาต้องเน้นพฤติกรรมที่จะวัดและสังเกตเห็นได้
2.ต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนในแง่ของความสำเร็จ
3.วิธีการที่ครูใช้รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้เหมาะสมกับจุดหมายและเนื้อหาประสบการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเรียน
4.การวัดและประเมินผลการเรียนและหลักสูตร

4. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่างๆ อย่างน้อย 3 ระดับ
ตอบ 1.บุคคลธรรมดาสามัญ ความหมายตามพจนานุกรม อธิบายว่า การศึกษาเป็นการเล่าเรียนฝึกฝน
2.บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา ความหมายตามพจนานุกรมทางการศึกษาให้ความหมายว่า การศึกษา
เป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัดรวบไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบเพื่อให้บุคคลรุ่นหลัง เข้าใจและนำไปปฏิบัติ
3.บุคคลที่เป็นนักศึกษา นักศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน

5. เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ เทคโนโลยีการศึกษามี 3 ระดับ ได้แก่
1.ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง
2.ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตัวเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในสถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป เช่น การสอนทางไกลโดยใช้วิทยุ โทรทัศน์หรือเอกสารทางไปรษณีย์
3.ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจักระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เช่น ระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
ตอบ เทคโนโลยี คือ การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆใช้หรือประยุกต์ ส่วนนวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ๆที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

7. จงบอกถึงขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
ตอบ 1. ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
2. ขั้นการพัฒนาการ (Development)หรือขั้นการทดลอง(Pilot Project)
3.ขั้นการนำไปหรือปฎิบัติจริง (Innovation)

8. จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย5 ข้อ
ตอบ 1.ช่วยให้ผู้เรียนได้กว้างขวางมากขึ้น
2.สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
3.ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลอง
4.มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน
5.ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว

9. จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ1.การสอนแบบโปรแกรม (Instruction)
2.ศูนย์การเรียน(Learning center)
3.การสอนแบบจุลภาค(micro Teaching)

10. จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและวนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย3ข้อ
ตอบ1.การเพิ่มจำนวนประชากร
2.การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
3.ความก้าวหน้าทางค้านวิทยาการใหม่ๆ

11. จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยอย่างน้อย5ข้อ
ตอบ 1. การไม่นับถือตน คนไทยส่วนใหญ่ขาดความเชื่อมั่นและไม่นับถือตนเอง ในภาพการเรียนการสอนที่ครู
เป็นศูนย์กลาง ครูไม่สามารถเอาใจใส่ผู้เรียนได้อย่างทั่วถึง
2. การไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม ในอดีตหลักสูตรบรรจุเนื้อหาวิชาและประสบการณ์ที่ไม่เอื้อต่อผู้เรียนในส่วนภูมิภาคต่างๆของประเทศ การจัดการศึกษาควรสนองความต้องการของคนแต่ละภาคเพื่อให้เขาได้ชื่นชมกับสิ่งแวดล้อมอันได้แก่ วัฒนธรรมต่างๆ รู้จักปรับปรุงความเป็นอยู่
3. การขาดลักษณะที่พึงประสงค์ มนุษย์เกิดมาภายใต้พันธุกรรมสิ่งแวดล้อมลักษณะที่ไม่ดีต่างๆ เช่น ความโลภ ความหลง ความเห็นแกตัว และสันดานดิบของมนุษย์

12. จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยอย่างน้อย3ประการ
ตอบ 1. กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
2. สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
3. รู้จักทำงานนร่วมกันเป็นหมู่อย่างมีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

จะมีวิธีการใช้เทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร

-เป็นนวัตกรรมใหม่ มีความคิดริเริ่มใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ

ทำไมครูจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการศึกษา

1.เพื่อความสะดวก
2.เพื่ความรวดเร็ว
3.เพื่อการประหยัดเวลา
4.เพื่อการเรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ
5.เพื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ